ไฟฟ้าสถิต(Static electricity) เป็นปรากฏการณ์ที่ปริมาณประจุไฟฟ้าขั้วบวกและขั้วลบบนผิววัสดุมีไม่เท่ากัน ปกติจะแสดงมในรูปการดึงดูด การผลักกัน และเกิดประกายไฟ
การเกิดไฟฟ้าสถิต
การที่ปริมาณประจุไฟฟ้าขั้วบวกและขั้วลบบนผิววัสดุมีไม่เท่ากันทำให้เกิดแรงดึงดูดเมื่อวัตถุทั้ง 2 ชิ้นมีประจุต่างชนิดกัน หรืออาจเกิดแรงผลักกันเมื่อวัตถุทั้ง 2 ชิ้นมีประจุเดียวกัน เราสามารถสร้างไฟฟ้าสถิตโดยการนำผิวสัมผัสของวัสดุทั้ง 2 ชิ้นมาขัดสีกัน พลังงานที่เกิดจากการขัดสีกันทำให้ประจุไฟฟ้าบนผิววัสดุเกิดการแลกเปลี่ยนกัน โดยจะเกิดกับวัสดุประเภทที่ไม่นำไฟฟ้า หรือที่เรียกว่า "ฉนวน" ตัวอย่างเช่น ยาง, พลาสติก, และแก้ว สำหรับวัสดุประเภทที่นำไฟฟ้านั้นมีโอกาสเกิดปรากฏการณ์ประจุไฟฟ้าบนผิววัสดุไม่เท่ากัน นั้นยากแต่ก็สามารถเกิดขึ้นได้
ไฟฟ้าสถิตเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่คุ้นเคยกับประเทศที่มีอากาศหนาว ในฤดูหนาวความชื้นในอากาศจะต่ำมาก การเกิดไฟฟ้าสถิตบนผิวหนังจะเกิดขึ้นง่ายมาก ดังนั้นเมื่อเกิดการสัมผัสกับวัตถุที่เป็นตัวนำจะทำให้เกิดการถ่ายเทประจุไปยังตัวนำอย่างรวดเร็วทำให้เกิดอาการสะดุ้งได้ และยังสามารถทำความเสียหายแก่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ผู้ค้นพบคือ เบนจามิน แฟรงคลิน ชาวอเมริกา
บทความจาก ; http://www.rmutphysics.com/CHARUD/scibook/electric%20current1/index.htm
มีสาระนี่หว่า :P
ตอบลบมีสาระตั้ง 2 บรรทัดแน่ะ
ตอบลบ